การออกแบบแสงที่สำหรับสนามแบดมินตันสนามฝึกซ้อม จะสังเกตเห็นได้ว่าการมีหลอดที่แขวนอยู่ด้านบนแนวดิ่ง และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่ติดจำนวนมากอยู่ด้านข้างเรียงกันเป็นแถวให้แสงสว่าง อาจกล่าวได้ว่าการออกแบบแสงสำหรับสนามแบดมินตันจากแนวดิ่งการให้แสงสว่างก็จะครอบคลุมแสงที่อยู่ในอากาศด้วยแล้วลงมากระทบพื้น แต่การติดโคมไฟแนวดิ่งนั้นจะมีปัญหาสำหรับนักกีฬา หากเงยหน้าขึ้นไปแล้วมองเห็ฯจุดให้แสงสว่างโดยจะทำให้แสงแยงตาทำให้เกิดการเล่นชะงักลงได้
การออกแบบสนามมินตันจะต้องให้แสงฟุ้งอยู่ในอากาศ ซึ่งจะผิดกับการออกแบบแสง การออกแบบแสงโดยทั่วไปจะไม่ให้แสงลอยอากาศโดยเฉพาะการออกแบบแสงในถนนที่จะส่องไปที่พื้นผิวถนนโดยตรงเป็นหลัก แต่การออกแบบแสงสำหรับสนามกีฬาประเภทแบดมินตันหรือสนามไดร์กอล์ฟนั้น จะต้องออกแบบแสงให้ลอยอากาศทิ้งไว้เพิ่อให้ลูกแบดหรือลูกกอล์ฟที่ลอยในอากาศนั้นถูกมองเห็นได้ด้วย ไม่เพียงแต่ให้พื้นส่องสว่างเท่านั้นการออกบบสนามกีฬาประเภทนี้ต้องออกแบบให้แสงฟุ้งอยู่ในอากาศเพื่อความคมชัดของลูกแบดหรือลูกกอล์ฟสำหรับนักกีฬาที่กำลังเล่นอยู่ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการเกิดแสงแยงตาที่ทำให้นักกีฬาเกิดการกระพริบหรือการหลบแสง การใช้เทคนิคต่างๆไม่ว่าจะเป็น reflector ที่เป็น milky ทำให้แสงเกิดการกระจายตัวก็ดี หรือใช้โคมประเภท lndirect เพื่อทำให้มุมของแสงนั้นถูกลบหรือจะใช้ผ้าใบในการสะท้อนแสงลงมากระจายแสง โดยซึมซับแสงแล้วค่อยสะท้อนลงมาที่พื้นผิวของสนามแบดนั้นๆก่อน เพื่อลดแสงแสงที่ออกจาก LED Chips จุดเดียว ก็จะทำให้เป็นการออกแบบแสงที่ดี
ในการออกแบบแสงสำหรับลานฝึกซ้อมหรือลานแข่งสนามแบดมินตันเป็นต้น หากออกแบบแสงในแนวดิ่งเพดานควรจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 9 เมตร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วก็แนะนำจัดแสงไม่ได้ในแนวดิ่ง แต่จัดที่หลบสายตาของผู้เล่นให้มากที่สุด สามารถออกแบบแสงในโปรแกรมได้แล้วดูค่าแสงแยงตาในบริเวณที่จะทำกิจกรรมได้เพื่อดูทิศทางของแสงว่าจะกระทบกับผู้ใช้มากน้อยเพียงใด